วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2559

การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์



การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
     

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์


                  เทคโนโลยีคมนาคมและการสื่อสารนำมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการ ดำเนินงานทางธุรกิจโดยมีวัตถุประสงค์หลัก 4 ประการดังนี้          
1.  เพื่อการสื่อสารทางธุรกิจที่ดีขึ้น          
2.  เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น          
3.  เพื่อการกระจายข้อมูลที่ดีขึ้น          
4.  เพื่อการจัดการกระบวนการธุรกิจที่สะดวกขึ้น
UploadImage
องค์ประกอบของการสื่อสาร          

1.  ผู้ส่งข้อมูล (Sender) ทำหน้าที่ส่งข้อมูล          
2.  ผู้รับข้อมูล (Receiver) ทำหน้าที่รับข้อมูล          
3.  ข้อมูล (Data) ข้อมูลที่ผู้ส่งข้อมูลต้องการส่งไปยังผู้รับข้อมูล อาจอยู่ในรูปของข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหว          
4.  สื่อนำข้อมูล (Medium) ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการขนถ่ายข้อมูล เช่น สายเคเบิล ใยแก้วนำแสง อากาศ          
5.  โปรโตคอล (Protocol) กฎหรือวิธีที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อการสื่อสารข้อมูลในรูปแบบตามวิธีการสื่อสาร ที่ตกลง กันระหว่าง ผู้ส่งข้อมูล กับ ผู้รับข้อมูล 
การใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร        
           การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ในยุคปัจจุบัน ได้ตะหนักถึง ความสำคัญในการนำเทคโนโลยีคมนาคมและการสื่อสารมาช่วยงานเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพของการดำเนินงาน ซึ้งการประยุกต์เทคโนโลยีการสื่อสารในองค์การมีดังนี้ 
     ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : E-mail)การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ และพีดีเอ ส่งข้อความอิเล็กทรอนิกส์ไปยังบุคคลอื่น โดยการสื่อสารนี้บุคคลที่ทำการสื่อสารจะต้องมีชื่อและที่อยู่ในรูปแบบอีเมล์ แอดเดรส  
     โทรสาร (Facsimile หรือ Fax)เป็นการส่งข้อมูล ซึ่งอาจเป็นข้อความที่เขียนขึ้นด้วยมือหรือการพิมพ์ รูปภาพ หรือกราฟต่างๆ จากเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ที่มีอุปกรณ์ที่เรียกว่าแฟกซ์-โมเด็มไปยังเครื่องรับโทรสาร การส่งข้อความในลักษณะนี้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและมีประสิทธิภาพสูงกว่าการ ส่งข้อมูลผ่านเครื่องโทรสารธรรมดา
         วอยซ์เมล (Voice Mail)เป็นการส่งข้อความเป็นเสียงพูดให้กลายเป็นข้อความอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ เครือข่ายการสื่อสารข้อความจะถูกบันทึกไว้ในอุปกรณ์บันทึกเสียงที่เรียกว่าว อยซ์เมล์บ็อกซ์ เมื่อผู้รับเปิดฟังข้อความดังกล่าวก็จะถูกแปลงกลับไปอยู่ในรูปแบบของเสียง พูดตามเดิม 
      การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ (Video Conferencing)เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยการส่งภาพและเสียงจากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง ในการใช้ Video Conferencing จะต้องมีอุปกรณ์สำหรับการบันทึกภาพและอุปกรณ์บันทึกเสียง โดยที่ภาพและเสียงที่ส่งไปนั้นอาจเป็นภาพเคลื่อนไหวที่มีเสียงประกอบได้ การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไป ประชุม 
      การระบุตำแหน่งด้วยดาวเทียม(Global Positioning Systems : GPSs) เป็นระบบที่ใช้วิเคราะห์และระบุตำแหน่งของคน สัตว์ หรือสิ่งของที่เป็นเป้าหมายของระบบ การวิเคราะห์ตำแหน่งทำได้โดยใช้ดาวเทียมระบุตำแหน่ง ปัจจุบันมีการนำไปใช้ในระบบการเดินเรือ เครื่องบินและเริมพัฒนามาใช้เพื่อระบุตำแหน่งของรถยนต์ด้วย 
          กรุ๊ปแวร์(groupware)เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ช่วยสนับสนุนการทำงานของกลุ่มบุคคลให้สามารถทำงาน ร่วมกัน การใช้ทรัพยากรและสารสนเทศร่วมกันโดยผ่านระบบเครือข่าย 
      การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Fund Transfer : EFT) ปัจจุบันผู้ใช้สามารถชำระค่าสินค้าและบริการโดยการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ จากบัญชีธนาคารที่ให้บริการโอนเงินอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทัน สมัย กิจกรรมที่ประยุกต์ใช้กันเป็นประจำ ได้แก่ การโอนเงินผ่านทางตู้ ATM
           การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Data Interchange : EDI)เป็นระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างองค์การ โดยใช้แบบฟอร์มของเองกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีรูปแบบมาตรฐานสากล เช่น การส่งใบสั่งสินค้า ใบส่งของ ใบเรียกเก็บเงิน                  
      การระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ(RFID)เป็นระบบระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ ปัจจุบันมีการนำ RFID ไปประยุกต์ใช้งานหลากหลายประเภท เช่น ห่วงโซ่อุปทาน ระบบโลจิสติกส์การตรวจสอบฉลากยา การใช้ในฟาร์มเลี้ยงสุกร บัตรทางด่วน บัตรรถไฟฟ้าใต้ดิน ระบบหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์  
ชนิดของสัญญาณข้อมูล         
         1. สัญญาณแอนะล็อก(Analog Signal) เป็นสัญญาณแบบต่อเนื่อง มีลักษณะเป็นคลื่นไซน์ (Sine Wave) โดยที่แต่ละคลื่นจะมีความถี่และความเข้มของสัญญาณที่ต่างกัน เมื่อนำสัญญาณข้อมูลเหล่านี้มาผ่านอุปกรณ์รับสัญญาณและแปลงสัญญาณและแปลง สัญญาณก็จะได้ข้อมูลที่ต้องการ เฮิรตซ์  (Hertz) คือหน่วยวัดความถี่ของสัญญาณข้อมูลแบบแอนะล็อก วิธีวัดความถี่จะนับจำนวนรอบของสัญญาณที่เกิดขึ้นภายใน 1 วินาที เช่น ความถี่ 60 Hz หมายถึง ใน 1 วินาที สัญญาณมีการเปลี่ยนแปลงระดับสัญญาณ 60 รอบ                                 
                  2. สัญญาณดิจิทัล(Digital Signal)สัญญาณดิจิทัลเป็นสัญญาณแบบไม่ต่อเนื่อง รูปสัญญาณของสัญญาณมีความเปลี่ยนแปลงที่ไม่ปะติดปะต่ออย่างสัญญาณแอนะล็อก ในการสื่อสารด้วยสัญญาณดิจิทัล ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเลขฐานสอง (0และ1) จะถูกแทนด้วยสัญญาณดิจิทัล Bit Rate เป็นอัตราความเร็วในการส่งข้อมูลแบบดิจิทัล วิธีวัดความเร็วจะนับจำนวนบิตข้อมูลที่ส่งได้ในช่วงระยะเวลา 1 วินาที เช่น 14,400 bps หมายถึง มีความเร็วในการส่งข้อมูลจำนวน 14,4001 บิตในระยะเวลา 1วินาที โมเด็ม(Modulator DEModulator หรือ Modem)โมเด็ม(Modem) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิทัลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็น สัญญาณแอนะล็อก ความเร็วในการสื่อสารข้อมูลของโมเด็มวันเป็นบิตต่อวินาที (bit per second หรือ bps) ความเร็วของโมเด็มโดยทั่วไปมีความเร็วเป็น 56 กิโลบิตต่อวินาที          
ทิศทางการส่งข้อมูล(Transmission Mode) สามารถจำแนกทิศทางการส่งข้อมูลได้ 3 รูปแบบ          
1.  การส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียว (Simplex Transmission)         
2.  การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางสลับกัน (Half-Duplex Transmission)          
3.  การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางพร้อมกัน (Full-Duplex Transmission) 
    ตัวกลางการสื่อสาร         
1.  สื่อนำข้อมูลแบบมีสาย(Wired Media) สื่อข้อมูลแบบมีสายที่นิยมใช้มี 3 ชนิดดังนี้               
-  สายคู่บิดเกลียว (Twisted-Pair Cable)สายคู่บิดเกลียว เป็นสายสัญญาณนำข้อมูลไฟฟ้า สายแต่ละเส้นมีลักษณะคล้ายสายไฟทั่วไป จำนวนสายจะมีเป็นคู่ เช่น 2 , 4 หรือ 6 เส้น แต่ละคู่จะมีพันบิดเกลียว การบิดเกลียวนี้จะช่วยลดสัญญาณรบกวนที่เกิดขึ้นในการส่งข้อมูล ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ไกลกว่าปกติ                
-  สายโคแอกเชียล(Coaxial Cable)สายโคแอกเชียล เป็นสายสัญญาณนำข้อมูลไฟฟ้า มีความถี่ในการส่งข้อมูลประมาณ 100 MHz ถึง500 MHz สายโคแอกเชียลมีความมเร็วในการส่งข้อมูลและราคาสูงกว่าสายบิดเกลียว                
-  สายใยแก้วนำแสง(Optical Fiber Cable)สายสัญญาณทำจากใยแก้วหรือสารนำแสงหุ้มด้วยวัสดุป้องกันแสง มีความเร็วในการส่งสูงกับความเร็วแสง สามารถใช้ในการส่งข้อมูลที่มีความถี่สูงได้ สัญญาณที่ส่งผ่านสายใยแก้วนำแสง คือ แสง และ สัญญาณรบกวนจากภายนอกมีเพียงอย่างเดียว คือ แสงจากภายนอก           
2.  สื่อนำข้อมูลแบบไร้สาย(Wireless Media) การสื่อสารข้อมูลแบบไร้สาย จะใช้อากาศเป็นตัวกลางของการสื่อสาร เช่น                
แสงอินฟราเรด (Infrared) เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยใช้แสงอินฟราเรดเป็นสื่อกลาง การสื่อสารประเภทนี้นิยมใช้สำหรับการสือสารข้อมูลระยะใกล้ เช่น การสื่อการจากรีโมทคอนโทรลไปยังเครื่องรับวิทยุหรือโทรทัศน์                
สัญญาณวิทยุ (Radio Wave)  เป็นสื่อนำข้อมูลแบบไร้สาย (Wireless Media) ที่มีการส่งข้อมูลเป็นสัญญาณคลื่อนวิทยุไปในอากาศไปยังตัวรับสัญญาณ                 
-  ไมโครเวฟภาคพื้นดิน (Terrestrial Microwave) เป็นการสื่อสารไรสายอีกประเภทหนึ่ง การสื่อสารประเภทนี้จะมีเสาส่งสัญญาณไมโครเวฟที่อยู่ห่างๆ กัน ทำการส่งข้อมูลไปในอากาศไปยังเสารับข้อมูล                
-  การสื่อสารผ่านดาวเทียม (Satellite Communication)  เป็นการสื่อสารจากพื้นโลกที่มีการส่งสัญญาณข้อมูลไปยังดาวเทียม โดยดาวเทียมจะทำหน้าที่เป็นสถานีทวนสัญญาณ เพื่อจัดส่งสัญญาณต่อไปยังสถานีภาพพื้นดินอื่นๆ ระยะทางจะโลกถึงดาวเทียมประมาณ 22,000 ไมล์ 
                      หลักเกณฑ์การพิจารณาเลือกสื่อนำข้อมูล 1.  ราคา          
2.  ความเร็ว          
3.  ระยะทาง          
4.  สัญญาณรบกวนที่อาจจะเกิดขึ้น          
5.  ความปลอดภัยของข้อมูล 
                       มาตรฐานเครื่อข่ายไร้สาย (Wireless Networking Protocols)    
1. บลูทูธ (Bluetooth)          
2. ไวไฟ (Wi-Fi)          
3. ไว-แมกซ์ (Wi-MAX)





UploadImage

วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2559

Responsive Web Design คืออะไร?


Responsive Web Design 


หลักการของ Responsive Web Design      

          เริ่มแรกคือการทำ Fluid Grid ซึ่งก็คือการออกแบบ Grid ให้เป็นแบบ Relative ซึ่งก็คือการที่ไม่ได้กำหนดขนาดของ Grid แบบตายตัว แต่จะกำหนดให้สัมพันธ์กับสิ่งอื่นๆ เช่น กำหนดความกว้างแบบเป็น % หรือการใช้ font-size หน่วยเป็น em เป็นต้น          

          ต่อมาคือการทำ Flexible Images หรือการกำหนดขนาดของ Images ต่างๆ ให้มีความสัมพันธ์กับขนาดของหน้าจอแสดงผล หากรูปต้นฉบับมีขนาดใหญ่มาก เวลาแสดงในมือถือที่มีจอขนาดเล็ก ก็ควรลดขนาดลงมา เพื่อให้แสดงผลได้อย่างสวยงาม เป็นต้น  สุดท้ายคือการใช้ CSS3 Media Queries ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถกำหนด style sheets สำหรับ Devices ต่างๆ ได้ โดยส่วนใหญ่ เราจะเขียน style sheets พื้นฐานเอาไว้ ซึ่งกลุ่มนี้ จะไม่ขึ้นอยู่กับ Devices ใดๆ หลังจากนั้นให้เราเขียน style sheets สำหรับ Devices ที่มีขนาดหน้าจอที่เล็กสุด เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ จนถึงขนาดใหญ่สุด ซึ่งการเขียนแบบนี้ จะช่วยลดความซ้ำซ้อนของโค้ด และยังทำให้การแก้โค้ดในภายหลังทำได้ง่ายอีกด้วย

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Responsive Web Design คืออะไร?

ข้อดีของ Responsive Web Design

       1.สามารถรองรับการแสดงผลได้ทุกหน้าจอ ในรูปแบบที่แตกต่างกันไป  เช่นผ่านทางอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ จะเป็นหน้าจอที่สมบูรณ์แบบ แต่หากผ่านทางอุปกรณ์มือถือ จะมีการเรียงลำดับเมนูลงมาเรื่อย โครงสร้างการออกแบบจะขึ้นอยู่กับผู้พัฒนา

          2.เพิ่มความสะดวกสบายสำหรับผู้ใช้งาน  สามารถใช้งานได้โดยผ่าน  url ตัวเดียวกัน โดยไม่ต้องมีการกำหนดเวอร์ชั่นนี้สำหรับอุปกรณ์มือถือเท่านั้น  ซึ่งมีผลดีในด้าน SEO ด้วย

          3.การแก้ไขข้อมูล แก้ไขข้อมูลในที่เดียวแสดงผลทุกอุปกรณ์

ข้อเสียของ Responsive Web Design

        1.ไม่สามารถรองรับการทำงาน พวก flash หรือพวก Javascript หรือรูปภาพที่มีขนาดใหญ่ได้

          2.เนื่องจากอุปกรณ์มือถือแสดงหน้าจอขนาดเล็ก ผู้พัฒนาอาจจะต้องมีการตัดเมนูบางส่วนที่ไม่จำเป็นสำหรับผู้ใช้ ออก

          3.ในการออกแบบต้องมีการจัดวางโครงสร้างให้ดี  เช่น  html5 css  ให้เหมาะสม

          4.การปรับปรุงโครงสร้าง ภายหลังจะแก้ไขยาก อาจจะทำให้โครงสร้างการแสดงผลบ้างส่วนมีปัญหา                                                                                                                                                                 

                                                                  







วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ระบบสื่อสารข้อมูล สำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์



ระบบสื่อสารข้อมูล สำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์




             ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์            

องค์ประกอบระบบสื่อสารข้อมูล

             

สำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์

    1.ข่าวสาร (Message) เป็นข้อมูลรูปแบบต่างๆ
    2.ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender)
    3.สื่อหรือตัวกลาง (Media) เป็นสื่อหรือช่องทาง ที่ใช้ในการนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง
    4.ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver)
    5.กฎ ข้อตกลง ระเบียบวิธีการรับส่ง(protocol)

1.1 สายคู่บิดเกลียว (twisted pair) มี 2 ชนิด คือ
สายคู่บิดเกลียวไม่มีฉนวนหุ้ม (Unshielded Twisted Pair : UTP)
สายคู่บิดเกลียวมีฉนวนหุ้ม (Shielded Twisted Pair : STP)
1.2 สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) เป็นสื่อกลางที่มีส่วนของสายส่งข้อมูล
เป็นลวดทองแดงอยู่ตรงกลาง หุ้มด้วยพลาสติก ส่วนชั้นนอกหุ้มด้วยโลหะ
หรือฟอยล์ถักเป็นร่างแหเพื่อป้องกันสัญญาณรบกวน
1.3 สายใยแก้วนำแสง (Fiber-optic cable) เป็นสื่อกลางที่ใช้ส่งข้อมูล
ในรูปแบบของแสง
    2.สื่อหรือตัวกลางประเภทไร้สาย
2.1 คลื่นไมโครเวฟ (Microwave) เป็นสื่อกลางในการสื่อสารที่มีความเร็วสูง
ส่งข้อมูลโดยอาศัยสัญญาณไมโครเวฟซึ่งเป็นสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
เหมาะกับการส่งข้อมูลในพื้นที่ห่างไกลกันมากๆ หรือพื้นที่ทุรกันดาร
2.2 ดาวเทียม (Satellite) ในการส่งสัญญาณดาวเทียมนั้น จะต้องมีสถานี
ภาคพื้นดินคอยทำหน้าที่รับและส่งสัญญาณขึ้นไปบนดาวเทียม
2.3 แอคเซสพอยต์ (Access Point)

                    ความหมาย ระบบการโอนถ่ายข้อมูลหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างต้นทางหรือปลายทางโดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์ โทรสาร โมเด็ม คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เครือข่ายต่างๆ ดาวเทียม ควบคุมการส่งและการไหลของข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง


สื่อหรือตัวกลางของระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับคอมพิวเตอร์


    1.สื่อหรือตัวกลางประเภทมีสาย



ความหมายเครือข่ายคอมพิวเตอร์               

       ระบบการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์จำนวนตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศ รวมถึงใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ร่วมกัน
ประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
  1. การใช้ทรัพยากรร่วมกัน (Resources Sharing) หมายถึง การใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องพิมพ์ร่วมกัน
  2. การแชร์ไฟล์ เมื่อคอมพิวเตอร์ถูกติดตั้งเป็นระบบเน็ตเวิร์กแล้ว การใช้ไฟล์ข้อมูลร่วมกันหรือการแลกเปลี่ยนไฟล์ทำได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
  3. สามารถบริหารจัดการทำงานคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องได้จากศูนย์กลาง (Centralized Management)
  4. สามารถทำการสื่อสารกันในเครือข่าย (Communication) ได้หลายรูปแบบ
  5. มีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลบนเครือข่าย (Network Security)

                

ประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

1. เครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network : LAN)
2. เครือข่ายเมือง (Metropolises Area Network :MAN)
3. เครือข่ายระดับประเทศ (Wide Area Network : WAN)
4. เครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet)

 

รูปแบบการเชื่อมต่อของระบบเครือข่าย network topology

     1.การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบบัส (bus network) เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ ทุกเครื่องบนสายสัญญาณหลักเส้นเดียว ที่ปลายทั้งสองด้านปิดด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า Terminator ไม่มีคอมพิวเตอร์เครื่องใด เครื่องหนึ่ง เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ คอมพิวเตอร์เครื่องใดหยุดทำงาน ก็ไม่มีผลกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ในเครือข่าย การรับส่งสัญญาณบนสายสัญญาณต้องตรวจสอบสายสัญญาณ BUS ให้ว่างก่อน จึงจะสามารถส่งสัญญาณไปบนสาย BUS ได้

     2. การเชื่อต่อเครือข่ายแบบวงแหวน (ring network) การเชื่อมต่อแบบวงแหวน เป็นการเชื่อมต่อจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง จนครบวงจร ในการส่งข้อมูลจะส่งออกที่สายสัญญาณวงแหวน โดยจะเป็นการส่งผ่านจากเครื่องหนึ่ง ไปสู่เครื่องหนึ่งจนกว่าจะถึงเครื่องปลายทาง ปัญหาของโครงสร้างแบบนี้คือ ถ้าหากมีสายขาดในส่วนใดจะทำ ให้ไม่สามารถส่งข้อมูลได้      3. การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบดาว (Star network)  เป็นการเชื่อมต่อสายสื่อสารจากคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องไปยังฮับ (hub) หรือ สวิตช์ (switch) ซึ่งเป็นอุปกรณ์สลับสายกลางแบบจุดต่อจุดเป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อ วงจรเชื่อมโยงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ติดต่อสื่อสารถึงกัน       4. เครือข่ายแบบ Hybrid เป็นการเชื่อมต่อที่ผสมผสานเครือข่ายย่อยๆ หลายส่วนมารวมเข้าด้วยกัน เช่น นำเอาเครือข่ายระบบ Bus, ระบบ Ring และ ระบบ Star มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน เหมาะสำหรับบางหน่วยงานที่มีเครือข่ายเก่าและใหม่ให้สามารถทำงานร่วมกัน
      2. โมเด็ม (modem) เป็นฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณอนาล็อก(Analog signal)ให้เป็นสัญญาณดิจิทัล (Digital Signal)และในทางกลับกันก็แปลงสัญญาณดิจิทัลให้เป็นสัญญาณอนาล็อก
      3. การ์ด LAN (Network Interface Card – NIC) เป็นการ์ดสำหรับต่อเครื่องพีซีเข้ากับสาย LAN
      4. สวิตช์ (Switching) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่กระจายช่องทางการสื่อสารข้อมูลหลายช่องทางการสื่อสารข้อมูลหลายช่องทางในระบบเครือข่ายคล้ายHubแต่ต่างกันในเรื่องของกรทำงานและความเร็ว คือ แต่ละช่องสัญญาณ (port) จะใช้ความเร็วเป็นอิสระต่อกันตามมาตรฐานความเร็ว
      5. เราท์เตอร์ (router) เป็นอุปกรณ์ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมโยงให้เครือข่ายหลายเครือข่ายที่มีขนาดต่างกันหรือใช้มาตรฐานการส่งผ่านข้อมูล (Transmission) ต่างกันสามารถติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้            

โปรโตคอล (Protocol)               

         องค์กรที่เกี่ยวข้องได้กำหนดโปรโตคอลที่เรียกว่า มาตรฐานการจัดการระบบการเชื่อมต่อสื่อสารระหว่างระบบเปิด (Open System International :OSI)

             ชนิดของโปรโตคอล

2.เอฟทีพี (FTP)
3.เอชทีทีพี (HTTP)
4.เอสเอ็มทีพี (SMTP)
5.พีโอพีทรี (POP3)

                การถ่ายโอนข้อมูลทำได้โดยการส่งข้อมูลออกมาทีละ 1 ไบต์ หรือ 8 บิต จากอุปกรณ์ส่งไปยังอุปกรณ์รับ ตัวกลางระหว่างสองเครื่องจึงต้องมีช่องทางให้ข้อมูลเดินทางอย่างน้อย 8 ช่องทาง เพื่อให้กระแสไฟฟ้าผ่านโดยมากจะเป็นสายสัญญาณแบบขนาน ระยะทางของสายสัญญาณแบบขนานระหว่างสองเครื่อง ไม่ควรยาวเกิน 100 ฟุต
           2. การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม (Serial transmission)
2) สื่อสารสองทางครึ่งอัตรา (half duplex) ข้อมูลสามารถส่งได้ทั้งสองสถานี แต่จะต้องผลัดกันส่งและผลัดกันรับ จะส่งและรับพร้อมกันไม่ได้ เช่น วิทยุสื่อสารของตำรวจ เป็นต้น
3) สื่อสารสองทางเต็มอัตรา (full duplex) ทั้งสองสถานีสามารถรับและส่งได้ในเวลาเดียวกัน เช่น  การสนทนาทางโทรศัพท์เป็นต้น

           2. การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม (Serial transmission)
2) สื่อสารสองทางครึ่งอัตรา (half duplex) ข้อมูลสามารถส่งได้ทั้งสองสถานี แต่จะต้องผลัดกันส่งและผลัดกันรับ จะส่งและรับพร้อมกันไม่ได้ เช่น วิทยุสื่อสารของตำรวจ เป็นต้น
3) สื่อสารสองทางเต็มอัตรา (full duplex) ทั้งสองสถานีสามารถรับและส่งได้ในเวลาเดียวกัน เช่น  การสนทนาทางโทรศัพท์เป็นต้น

                                                             อุปกรณ์เครือข่าย

      1. ฮับ (hub) เป็นอุปกรณ์ที่ทวนและขยายสัญญาณเพื่อส่งต่อไปยังอุปกรณ์อื่นให้ได้ระยะทางที่ยาวไกลขึ้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลก่อนและหลังการรับส่งและไม่มีการใช้ซอฟแวร์ใด ๆ มาเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ชนิดนี้ การติดตั้งทำได้ง่าย

              โปรโตคอล คือ ข้อกำหนดหรือข้อตกลงที่ใช้ควบคุมการสื่อสารข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์เครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลชนิดเดียวกัน  ซึ่งสามารถติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้เหมือนกับมนุษย์ที่ใช้ภาษาเดียวกัน ในการสื่อสาร เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันนั่น

1.ทีซีพีหรือไอพี (TCP/IP)

           1.การถ่ายโอนข้อมูลแบบขนาน (Parallel transmission)

              การถ่ายโอนข้อมูลแบบนุกรม อาจจะแบ่งตามรูปแบบรับ-ส่ง ได้ 3 แบบคือ

1) สื่อสารทางเดียว (simplex) ข้อมูลส่งได้ทางเดียวเท่านั้น บางครั้งก็เรียกว่า การส่งทิศทางเดียว (unidirectional data bus) เช่น การส่งข้อมูลไปยังเครื่องพิมพ์ การกระจายเสียงของสถานีวิทยุ เป็นต้


วันเสาร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2559

องค์ประกอบและหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์


องค์ประกอบและหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์


                           คอมพิวเตอร์ จะทำงานได้ต้องประกอบไปด้วยส่วนสำคัญ 5 ส่วนด้วยกันคือ 1. หน่วยรับเข้า (Input Unit) 2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) 3. หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit) 4. หน่วยความจำรอง (Secondary Memory Unit) 5. หน่วยแสดงผล (Output Unit)

                    หน่วยรับเข้า (Input Unit)

               ทำหน้าที่รับข้อมูลคำสั่งจากผู้ใช้ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อนำไปประมวลผล ข้อมูลที่รับเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์มีหลากหลาย เช่น ตัวอักษร, ตัวเลข, รูปภาพ, เสียง เป็นต้น โดยผ่านอุปกรณ์สำหรับนำเข้าข้อมูลรูปแบบต่างๆ เมาส์, คีย์บอร์ด, เครื่องอ่านพิกัด, เครื่องอ่านรหัสแท่ง, เครื่องสแกน, กล้องดิจิทัล, ไมโครโฟน

               หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit)         

         ทำหน้าที่ประมวลผล คำนวณ และควบคุมการทำงานต่างๆ ของระบบคอมพิวเตอร์

1. หน่วยควบคุม (Control Unit : CU)ทำหน้าที่อ่านคำสั่ง สั่งงาน และควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด

2. หน่วยคำนวณตรรกะ (Arithmetic and Logic Unit : ALU)ทำหน้าที่คำนวณด้วยวิธีการทางคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร การเปรียบเทียบข้อมูลมากกว่า น้อยกว่า เป็นต้น

หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit)

               เป็นหน่วยเก็บข้อมูลก่อนนำไปประมวลผล เก็บคำสั่งโปรแกรมขณะใช้งาน และเก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลก่อนนำไปแสดงผล หน่วยความจำหลักแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

1. หน่วยความจำหลักแบบอ่านได้อย่างเดียว (Read Only Memory : ROM)ป็นหน่วยความจำที่บริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ได้บรรจุชิปหน่วยความจำแบบติดตั้งถาวร หรือไบออส (Basic Input Output System : BIOS) ไว้บนแผงวงจรหลักเรียบร้อยแล้ว โดยข้อมูลที่บรรจุลงไปในหน่วยความจำจะยังคงอยู่แม้จะปิดเครื่องไปแล้ว แต่ไม่สามารถบรรจุข้อมูลเพิ่มเติมลงไปได้

2. หน่วยความจำหลักแบบแก้ไขได้ (Random Access Memory : RAM)เป็นหน่วยความจำที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูลและคำสั่ง มีหน้าที่จดจำคำสั่งที่เป็นโปรแกรมและข้อมูลที่จะทำการประมวลผล หากเกิดไฟฟ้าดับหรือไม่มีกระแสไฟฟ้าข้อมูลที่อยู่ภายในจะหายไปทั้งหมด

หน่วยความจำรอง (Secondary Memory Unit)           

              เป็นหน่วยความจำที่สามารถรักษาข้อมูลได้ตลอดไป ไม่มีทางสูญหายหลังจากเปิดเรื่องคอมพิวเตอร์แล้ว

หน่วยส่งออก (Output Unit)       

           เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ออกมาให้ผู้ใช้งานสามารถรับรู้ได้ตามต้องการ ซึ่งการส่งออกเป็นผลัพธ์สามาถส่งออกได้หลายรูปแบบ เช่น ภาพ, เอกสาร, เสียง และอุปกรณ์ที่สามารถแสดงผลลัพธ์ก็มีหลายนิด เช่น ลำโพง, จอมอนิเตอร์, เครื่องฉายโปรเจ็คเตอร์, เครื่องพิมพ์ เป็นต้น


หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์           


           การทำงานของคอมพิวเตอร์เริ่มต้นจากผู้ใช้งานป้อนข้อมูล หรือคำสั่งผ่านอุปกรณ์รับข้อมูล (Input Unit) ไปประมวลผล (Central Processing Unit) เพื่อประมวลผลตามข้อมูลหรือคำสั่งที่ได้รับ อาจมีการเก็บข้อมูลไว้ในหน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit) เพื่อการประมวลผล แล้วแสดงผลลัพธ์ผ่านทางอุปกรณ์แสดงผล (Output Unit) ชนิดต่างๆ หากผู้ใช้ต้องการการบันทึกข้อมูลเก็บไว้ ก็จะทำการบันทึกข้อมูลลงหน่วยความจำรอง (Secondary Memory Unit) ชนิดต่างๆ ต่อไป

วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2559

องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ


องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ

                    ระดับสารสนเทศแบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ สารสนเทศระดับบุคคล สารสนเทศระดับกลุ่ม และสารสนเทศระดับองค์กร  องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศประกอบด้วย ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล บุคลากร และขั้นตอนปฏิบัติงาน            

  ระดับสารสนเทศ


              1. ระบบสารสนเทศระดับบุคคล    เป็นระดับที่ช่วยให้แต่ละบุคคล สามารถทำงานในหน้าที่ของตนเองได้อย่าง มีประสิทธิภาพ โดยมีเครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมสำเร็จเป็นเครื่องช่วยในการทำงาน โดยที่พนักงานจะต้องเลือกใช้โปรแกรมที่เหมาะสมกับหน้าที่ของตน ซึ่งในปัจจุบันโปรแกรมก็ได้พัฒนาให้มี ความเหมาะสมกับงานเฉพาะด้านมากขึ้น เช่นโปรแกรมการจัดการฐานข้อมูล (Database ) โปรแกรมประมวลผลคำ (Word Processing ) โปรแกรมจัดทำและตกแต่งภาพ เป็นต้น ตัวอย่างเช่น พนักงานบัญชี ก็ควรที่จะเลือกใช้โปรแกรมตารางทำงานหรือโปรแกรมบัญชี  
                2. ระบบสารสนเทศระดับกลุ่ม     วัตถุประสงค์ของระบบสารสนเทศระดับกลุ่มก็คือ การใช้ทรัพยากรร่วมกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดไม่ว่าจะเป็นการใช้ข้อมูลร่วมกันหรือการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ร่วมกันทั้งนี้ก็เพื่อสร้างประสิทธิภาพในการทำงานนั่นเอง ส่วนใหญ่แล้วระบบสารสนเทศระดับกลุ่ม เครื่องคอมพิวเตอร์จะมีการเชื่อมต่อกันเป็นระบบเครือข่ายแลน ( Local Area Network : LAN ) ทำให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ เป็นอย่างดี และการเก็บข้อมูลก็จะเก็บอยู่ที่ศูนย์กลางที่เรียกว่า (File Server ) เมื่อผู้ใดต้องการใช้ก็สามารถเรียกข้อมูลนั้นมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว และเมื่อต้องมีการแก้ไขข้อมูล เมื่อผู้อื่นเรียกใช้ข้อมูลนั้นก็จะได้รับข้อมูลที่ได้รับการแก้ไขแล้วทันที นอกจากนี้ การใช้ระบบสารสนเทศระดับกลุ่มนี้ยังมีเทคโนโลยีที่สนับสนุน ในการทำงานอีก เช่น การใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail ) การจัดการฐานข้อมูล การประชุมทางไกล (Video conference ) การใช้แฟ้มข้อมูลร่วมกัน เป็นต้น                 3. ระบบสารสนเทศระดับองค์กร       เปรียบเสมือนการนำเอาระบบสารสนเทศระดับกลุ่มมารวมเข้าด้วยกัน เพราะระบบสารสนเทศระดับองค์กรนี้เป็นภาพรวมของหลาย ๆ แผนกเพื่อสนับสนุนงานด้านการบริหารและการจัดการให้สะดวกยิ่งขึ้น การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็อาจจะเชื่อมเครือข่ายในระดับกลุ่มเข้าด้วยกัน แต่ระบบสารสนเทศระดับองค์กรนี้จะต้องมีระบบจัดการฐานข้อมูลเพื่อช่วยดูแลข้อมูลทั้งหมดภายในองค์กร

                                    

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ

1. ฮาร์ดแวร์ ( Hardware )      ฮาร์ดแวร์ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์และหน่วยประมวลผลต่าง ๆ      ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบสารสนเทศ
2. ซอฟต์แวร์ ( Software ) 
      ซอฟต์แวร์ คือ โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่จะสั่งงานให้ฮาร์ดแวร์ทำงานตามที่ต้องการ ซอฟต์แวร์ แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ     
1). ซอฟต์แวร์ระบบ       เป็นโปรแกรมที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการควบคุมการปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่า “ ระบบปฏิบัติการ (Operating System )” ซึ่งระบบปฏิบัติการนี้จะไปควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ รวมถึงการจัดสรรอุปกรณ์และทรัพยากรต่าง ๆ ภายในระบบให้ประสานกัน     2). ซอฟต์แวร์ประยุกต์         เป็นโปรแกรมที่สร้างขึ้นเพื่อการทำงานเฉพาะอย่างหรือเฉพาะด้าน เช่น ด้านการคำนวณ ด้านการจัดทำเอกสาร เป็นต้นปัจจุบันซอฟต์แวร์ได้มีการพัฒนาเจริญก้าวหน้าขึ้นมาก และสามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาดทั่วไปเพราะมีราคาไม่สูงมากนัก แต่หากเป็นองค์กรใหญ่ ๆ แล้ว ซอฟต์แวร์ที่มีขายตามท้องตลาด ก็อาจจะทำงานได้ไม่ตรงกับลักษณะงานขององค์กรนั้น ๆ ก็อาจจะต้องจัดซื้อจากบริษัทที่ผลิตซอฟต์แวร์โดยตรง ซึ่งก็จะมีราคาแพง
3. ข้อมูล ( Data )ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ข้อมูล   
             ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริง หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับบุคคล วัตถุหรือสถานที่ ข้อมูลมีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะใช้เป็นเครื่องช่วยในการวางแผนงานการบริหารจัดการ ถ้าข้อมูลไม่ดีก็จะก่อผลเสียต่อองค์กรอย่างยิ่ง ดังนั้นข้อมูลจะต้องมีความถูกต้อง มีความเที่ยงตรง สามารถเชื่อถือได้ มีความเป็นปัจจุบัน สามารถตรวจสอบได้ และมีความสมบูรณ์ชัดเจน
 4. บุคลากร ( People )   ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ 4. บุคลากร ( People )
                 ในที่นี้หมายรวมถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องกับงานคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้ พนักงานคอมพิวเตอร์ ผู้ควบคุมระบบ โปรแกรมเมอร์ นักวิเคราะห์ระบบ จนถึงผู้อำนวยการ ศูนย์คอมพิวเตอร์ล้วนแต่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในความสำเร็จของระบบสารสนเทศทั้งสิ้น
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

                                                  
 จะต้องมีการวางแผนให้การทำงานเป็นไปตามลำดับขั้นตอนและต่อเนื่องสัมพันธ์กันทั้งบุคลากรและเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความถูกต้องสมบูรณ์
                      

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ


                  1. ระบบเอทีเอ็ม เป็นระบบที่อำนวยความสะดวกสบายให้แก่ผู้ใช้บริการธนาคารและเป็นตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศที่ได้รับการนำมาใช้เป็นกลยุทธ์ในการแข่งขันทางธุรกิจ เทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของระบบเอทีเอ็มก็คือ ระบบคอมพิวเตอร์ ที่รวบรวมข้อมูลบัญชีเงินฝากของลูกค้าธนาคารไว้ในฐานข้อมูลกับเทคโนโลยีสื่อสารข้อมูล ทำให้สามารถเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ออกไปทั่วเมือง ทั่วประเทศ หรือทั่วโลกได้ ผู้ใช้บัตรเอทีเอ็มสามารถเบิกเงินจากธนาคารได้จากตู้เอทีเอ็มที่ติดตั้งอยู่ทั่วไป ทุกครั้งที่ลูกค้าใช้บัตรเอทีเอ็มจากตู้เอทีเอ็มจะมีการสื่อสารข้อมูลไปยังฐานข้อมูลกลางที่สำนักงานใหญ่ของธนาคารที่เก็บข้อมูลยอดเงินฝากและรายการฝากถอนเงินของลูกค้า ฐานข้อมูลนี้จึงมีลักษณะสำคัญที่เรียกว่าเป็นฐานข้อมูลกลาง ในความหมายที่ว่า ลูกค้ามีบัญชีเงินฝากในธนาคารแห่งนั้น ๆ จะมีข้อมูลอยู่ที่ฐานข้อมูลกลางเพียงชุดเดียว และด้วยระบบการสื่อสารข้อมูลในลักษณะเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้เข้าถึงข้อมูลได้จากระยะไกล นอกจากนี้คอมพิวเตอร์ยังช่วยจัดการประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เช่น การฝาก การโอน และการถอน ที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ เทคโนโลยีฐานข้อมูลกลางทำให้สามารถเก็บข้อมูลต่าง ๆ ไว้เพียงชุดเดียว ไม่จำเป็นต้องสำเนาหลายชุด สามารถเรียกใช้และแก้ไขได้จากระยะไกล และเมื่อมีการแก้ไขแล้วทุกคนที่เข้ามาใช้ข้อมูลในภายหลังก็จะได้รับข้อมูลที่ทันสมัย การประมวลผลอัตโนมัติด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายนี้ เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นความสำคัญของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่สามารถนำมาประยุกต์ในงานต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อองค์การและธุรกิจได้อีกมากมาย
                  2. การลงทะเบียนเรียน  การลงทะเบียนเรียนในมหาวิทยาลัย นักศึกษาแต่ละคนสามารถเลือกเรียนวิชาที่สนใจได้ แต่ต้องเป็นวิชาที่กำหนดไว้ในหลักสูตร การลงทะเบียนแต่ละวิชามีข้อจำกัดคือ จำนวนนักศึกษาแต่ละห้องมีจำนวนจำกัด ดังนั้นการลงทะเบียนจึงต้องอาศัยข้อมูลจากการประมวลผลแบบเชื่อมตรง เพื่อให้สามารถตรวจสอบการลงทะเบียนได้ทันทีว่า มีวิชาอะไรเปิดสอนบ้าง วิชาใดมีผู้สมัครเรียนเต็มแล้ว ถ้าเต็มแล้วสามารถเปลี่ยนกลุ่ม หรือวิชาอื่นใดแทนได้บ้างข้อมูลในระบบการลงทะเบียนของสถานศึกษา จะนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดการศึกษาต่าง ๆ เช่น การจัดตารางสอน การจัดห้องสอบ การปรับปรุงข้อมูลคะแนน รวมถึงการรายงานผลต่าง ๆ                   3. การบริการและการทำธุรกรรมบนอินเทอร์เน็ต การเติบโต ของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้มีผู้ใช้งานกันอย่างกว้างขวาง ทำให้การสื่อสารระหว่างกันบนอินเทอร์เน็ตทำได้ง่ายและมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าระบบการสื่อสารแบบอื่น การสื่อสารที่นิยมบนอินเทอร์เน็ต ได้แก่ การรับส่งข้อมูลทำการแลกเปลี่ยน โอนย้ายแฟ้มข้อมูลระหว่างกัน การส่งอีเมล์ ตลอดจนการโต้ตอบ สื่อสารแบบส่งข้อความและการประยุกต์ในเรื่องธุรกิจอีกมากมาย เช่นระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออีคอมเมิร์ซ ( electronic commerce : e- commerce ) หรือการค้าขายบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต          นอกจากการทำการค้าบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแล้ว บริษัท ห้างร้าน และหน่วยงานราชการต่าง ๆ ก็หันมาดำเนินกิจการ หรือให้บริการทางอินเทอร์เน็ตมากขึ้น ทำให้ผู้ใช้บริการสะดวกสบายขึ้น โรงแรมและการท่องเที่ยวเสนอบริการ และการจองเข้าพักโรงแรมหรือการซื้อตั๋วเครื่องบินผ่านทางอินเทอร์เน็ต           กรมสรรพากรเสนอบริการให้ผู้เสียภาษียื่นแบบรายการการเสียภาษีผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้เสียภาษีสามารถยื่นแบบรายการเสียภาษีได้จากที่ทำงาน หรือที่บ้าน ทำให้ลดปัญหาเรื่องการเดินทางและการจราจรได้มากบริษัทและหน่วยงานทางธุรกิจจำนวนมากใช้ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันทางอิเล็กทรอนิกส์เช่นการส่งใบสั่งซื้อสินค้าในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์การตรวจสอบรายการสินค้าตามห้างร้านค้าปลีกแบบออนไลน์การโต้ตอบธุรกรรมต่างๆทำให้ลดการใช้กระดาษและทำให้การดำเนินการเป็นไปด้วยความรวดเร็วลดค่าใช้จ่ายโดยรวมเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการ