องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ระดับสารสนเทศแบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ สารสนเทศระดับบุคคล สารสนเทศระดับกลุ่ม และสารสนเทศระดับองค์กร องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศประกอบด้วย ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล
บุคลากร และขั้นตอนปฏิบัติงาน
1. ระบบสารสนเทศระดับบุคคล เป็นระดับที่ช่วยให้แต่ละบุคคล
สามารถทำงานในหน้าที่ของตนเองได้อย่าง มีประสิทธิภาพ
โดยมีเครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมสำเร็จเป็นเครื่องช่วยในการทำงาน
โดยที่พนักงานจะต้องเลือกใช้โปรแกรมที่เหมาะสมกับหน้าที่ของตน
ซึ่งในปัจจุบันโปรแกรมก็ได้พัฒนาให้มี ความเหมาะสมกับงานเฉพาะด้านมากขึ้น
เช่นโปรแกรมการจัดการฐานข้อมูล (Database ) โปรแกรมประมวลผลคำ
(Word Processing ) โปรแกรมจัดทำและตกแต่งภาพ เป็นต้น
ตัวอย่างเช่น พนักงานบัญชี ก็ควรที่จะเลือกใช้โปรแกรมตารางทำงานหรือโปรแกรมบัญชี
2. ระบบสารสนเทศระดับกลุ่ม วัตถุประสงค์ของระบบสารสนเทศระดับกลุ่มก็คือ
การใช้ทรัพยากรร่วมกัน
เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดไม่ว่าจะเป็นการใช้ข้อมูลร่วมกันหรือการใช้อุปกรณ์ต่าง
ๆ ร่วมกันทั้งนี้ก็เพื่อสร้างประสิทธิภาพในการทำงานนั่นเอง
ส่วนใหญ่แล้วระบบสารสนเทศระดับกลุ่ม เครื่องคอมพิวเตอร์จะมีการเชื่อมต่อกันเป็นระบบเครือข่ายแลน
( Local Area Network : LAN ) ทำให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกันได้
เป็นอย่างดี และการเก็บข้อมูลก็จะเก็บอยู่ที่ศูนย์กลางที่เรียกว่า (File
Server ) เมื่อผู้ใดต้องการใช้ก็สามารถเรียกข้อมูลนั้นมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว
และเมื่อต้องมีการแก้ไขข้อมูล
เมื่อผู้อื่นเรียกใช้ข้อมูลนั้นก็จะได้รับข้อมูลที่ได้รับการแก้ไขแล้วทันที
นอกจากนี้ การใช้ระบบสารสนเทศระดับกลุ่มนี้ยังมีเทคโนโลยีที่สนับสนุน
ในการทำงานอีก เช่น การใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail ) การจัดการฐานข้อมูล การประชุมทางไกล (Video conference ) การใช้แฟ้มข้อมูลร่วมกัน เป็นต้น 3. ระบบสารสนเทศระดับองค์กร เปรียบเสมือนการนำเอาระบบสารสนเทศระดับกลุ่มมารวมเข้าด้วยกัน
เพราะระบบสารสนเทศระดับองค์กรนี้เป็นภาพรวมของหลาย ๆ
แผนกเพื่อสนับสนุนงานด้านการบริหารและการจัดการให้สะดวกยิ่งขึ้น
การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็อาจจะเชื่อมเครือข่ายในระดับกลุ่มเข้าด้วยกัน
แต่ระบบสารสนเทศระดับองค์กรนี้จะต้องมีระบบจัดการฐานข้อมูลเพื่อช่วยดูแลข้อมูลทั้งหมดภายในองค์กร
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
1. ฮาร์ดแวร์ ( Hardware ) ฮาร์ดแวร์ คือ
เครื่องคอมพิวเตอร์และหน่วยประมวลผลต่าง ๆ ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบสารสนเทศ
2. ซอฟต์แวร์ ( Software )
ซอฟต์แวร์ คือ
โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่จะสั่งงานให้ฮาร์ดแวร์ทำงานตามที่ต้องการ ซอฟต์แวร์
แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ 1). ซอฟต์แวร์ระบบ เป็นโปรแกรมที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการควบคุมการปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์
ที่เรียกว่า “ ระบบปฏิบัติการ (Operating
System )” ซึ่งระบบปฏิบัติการนี้จะไปควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์
รวมถึงการจัดสรรอุปกรณ์และทรัพยากรต่าง ๆ ภายในระบบให้ประสานกัน 2). ซอฟต์แวร์ประยุกต์ เป็นโปรแกรมที่สร้างขึ้นเพื่อการทำงานเฉพาะอย่างหรือเฉพาะด้าน
เช่น ด้านการคำนวณ ด้านการจัดทำเอกสาร เป็นต้นปัจจุบันซอฟต์แวร์ได้มีการพัฒนาเจริญก้าวหน้าขึ้นมาก
และสามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาดทั่วไปเพราะมีราคาไม่สูงมากนัก แต่หากเป็นองค์กรใหญ่
ๆ แล้ว ซอฟต์แวร์ที่มีขายตามท้องตลาด
ก็อาจจะทำงานได้ไม่ตรงกับลักษณะงานขององค์กรนั้น ๆ
ก็อาจจะต้องจัดซื้อจากบริษัทที่ผลิตซอฟต์แวร์โดยตรง ซึ่งก็จะมีราคาแพง
3. ข้อมูล ( Data )
ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริง
หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับบุคคล วัตถุหรือสถานที่
ข้อมูลมีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะใช้เป็นเครื่องช่วยในการวางแผนงานการบริหารจัดการ
ถ้าข้อมูลไม่ดีก็จะก่อผลเสียต่อองค์กรอย่างยิ่ง ดังนั้นข้อมูลจะต้องมีความถูกต้อง
มีความเที่ยงตรง สามารถเชื่อถือได้ มีความเป็นปัจจุบัน สามารถตรวจสอบได้
และมีความสมบูรณ์ชัดเจน
4. บุคลากร ( People
)
ในที่นี้หมายรวมถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องกับงานคอมพิวเตอร์ทั้งหมด
ไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้ พนักงานคอมพิวเตอร์ ผู้ควบคุมระบบ โปรแกรมเมอร์
นักวิเคราะห์ระบบ จนถึงผู้อำนวยการ
ศูนย์คอมพิวเตอร์ล้วนแต่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในความสำเร็จของระบบสารสนเทศทั้งสิ้น
จะต้องมีการวางแผนให้การทำงานเป็นไปตามลำดับขั้นตอนและต่อเนื่องสัมพันธ์กันทั้งบุคลากรและเครื่องคอมพิวเตอร์
เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความถูกต้องสมบูรณ์
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
1. ระบบเอทีเอ็ม เป็นระบบที่อำนวยความสะดวกสบายให้แก่ผู้ใช้บริการธนาคารและเป็นตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศที่ได้รับการนำมาใช้เป็นกลยุทธ์ในการแข่งขันทางธุรกิจ
เทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของระบบเอทีเอ็มก็คือ ระบบคอมพิวเตอร์
ที่รวบรวมข้อมูลบัญชีเงินฝากของลูกค้าธนาคารไว้ในฐานข้อมูลกับเทคโนโลยีสื่อสารข้อมูล
ทำให้สามารถเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ออกไปทั่วเมือง ทั่วประเทศ หรือทั่วโลกได้
ผู้ใช้บัตรเอทีเอ็มสามารถเบิกเงินจากธนาคารได้จากตู้เอทีเอ็มที่ติดตั้งอยู่ทั่วไป
ทุกครั้งที่ลูกค้าใช้บัตรเอทีเอ็มจากตู้เอทีเอ็มจะมีการสื่อสารข้อมูลไปยังฐานข้อมูลกลางที่สำนักงานใหญ่ของธนาคารที่เก็บข้อมูลยอดเงินฝากและรายการฝากถอนเงินของลูกค้า
ฐานข้อมูลนี้จึงมีลักษณะสำคัญที่เรียกว่าเป็นฐานข้อมูลกลาง ในความหมายที่ว่า
ลูกค้ามีบัญชีเงินฝากในธนาคารแห่งนั้น ๆ
จะมีข้อมูลอยู่ที่ฐานข้อมูลกลางเพียงชุดเดียว
และด้วยระบบการสื่อสารข้อมูลในลักษณะเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ทำให้เข้าถึงข้อมูลได้จากระยะไกล
นอกจากนี้คอมพิวเตอร์ยังช่วยจัดการประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เช่น การฝาก การโอน และการถอน ที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ เทคโนโลยีฐานข้อมูลกลางทำให้สามารถเก็บข้อมูลต่าง
ๆ ไว้เพียงชุดเดียว ไม่จำเป็นต้องสำเนาหลายชุด
สามารถเรียกใช้และแก้ไขได้จากระยะไกล
และเมื่อมีการแก้ไขแล้วทุกคนที่เข้ามาใช้ข้อมูลในภายหลังก็จะได้รับข้อมูลที่ทันสมัย
การประมวลผลอัตโนมัติด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายนี้
เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นความสำคัญของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
ที่สามารถนำมาประยุกต์ในงานต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อองค์การและธุรกิจได้อีกมากมาย 2. การลงทะเบียนเรียน การลงทะเบียนเรียนในมหาวิทยาลัย
นักศึกษาแต่ละคนสามารถเลือกเรียนวิชาที่สนใจได้
แต่ต้องเป็นวิชาที่กำหนดไว้ในหลักสูตร การลงทะเบียนแต่ละวิชามีข้อจำกัดคือ
จำนวนนักศึกษาแต่ละห้องมีจำนวนจำกัด
ดังนั้นการลงทะเบียนจึงต้องอาศัยข้อมูลจากการประมวลผลแบบเชื่อมตรง
เพื่อให้สามารถตรวจสอบการลงทะเบียนได้ทันทีว่า มีวิชาอะไรเปิดสอนบ้าง
วิชาใดมีผู้สมัครเรียนเต็มแล้ว ถ้าเต็มแล้วสามารถเปลี่ยนกลุ่ม
หรือวิชาอื่นใดแทนได้บ้างข้อมูลในระบบการลงทะเบียนของสถานศึกษา
จะนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดการศึกษาต่าง ๆ เช่น การจัดตารางสอน การจัดห้องสอบ
การปรับปรุงข้อมูลคะแนน รวมถึงการรายงานผลต่าง ๆ 3. การบริการและการทำธุรกรรมบนอินเทอร์เน็ต การเติบโต
ของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้มีผู้ใช้งานกันอย่างกว้างขวาง
ทำให้การสื่อสารระหว่างกันบนอินเทอร์เน็ตทำได้ง่ายและมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าระบบการสื่อสารแบบอื่น
การสื่อสารที่นิยมบนอินเทอร์เน็ต ได้แก่ การรับส่งข้อมูลทำการแลกเปลี่ยน
โอนย้ายแฟ้มข้อมูลระหว่างกัน การส่งอีเมล์ ตลอดจนการโต้ตอบ
สื่อสารแบบส่งข้อความและการประยุกต์ในเรื่องธุรกิจอีกมากมาย
เช่นระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออีคอมเมิร์ซ ( electronic commerce
: e- commerce ) หรือการค้าขายบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต นอกจากการทำการค้าบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแล้ว
บริษัท ห้างร้าน และหน่วยงานราชการต่าง ๆ ก็หันมาดำเนินกิจการ
หรือให้บริการทางอินเทอร์เน็ตมากขึ้น ทำให้ผู้ใช้บริการสะดวกสบายขึ้น
โรงแรมและการท่องเที่ยวเสนอบริการ และการจองเข้าพักโรงแรมหรือการซื้อตั๋วเครื่องบินผ่านทางอินเทอร์เน็ต กรมสรรพากรเสนอบริการให้ผู้เสียภาษียื่นแบบรายการการเสียภาษีผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ผู้เสียภาษีสามารถยื่นแบบรายการเสียภาษีได้จากที่ทำงาน หรือที่บ้าน
ทำให้ลดปัญหาเรื่องการเดินทางและการจราจรได้มากบริษัทและหน่วยงานทางธุรกิจจำนวนมากใช้ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันทางอิเล็กทรอนิกส์เช่นการส่งใบสั่งซื้อสินค้าในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์การตรวจสอบรายการสินค้าตามห้างร้านค้าปลีกแบบออนไลน์การโต้ตอบธุรกรรมต่างๆทำให้ลดการใช้กระดาษและทำให้การดำเนินการเป็นไปด้วยความรวดเร็วลดค่าใช้จ่ายโดยรวมเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น